วันเสาร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2554

เพลง กับ ubuntu

หลังจากปรับแต่ง Ubuntu ได้พักใหญ่ก็ถึงเวลาหาความสุนทรีย์ให้กับตัวเองซะที ตอนที่ใช้  windows นี่ผมเริ่มจาก winamp ก่อนเลย ตามประสาผู้นิยมพันธ์ทิพย์ที่ดี เพราะปกติ winamp นี่น่าจะเป็นโปรแกรมสามัญประจำเครื่อง จนผมมารู้จัก foobar และ songbird ก็ไล่ winamp ออกจากเครื่องไปเรียบร้อย ซึ่งผมก็ใช้ทั้งสองตัว
foobar นี่ได้เปรียบเรื่องความเร็วกับการใช้ทรัพยากรที่น้อยกว่า songbird มาก แต่ตัว songbird ก็ได้เปรียบเรื่องการมี browser ในตัว เพราะพัฒนาจากทีมงาน firefox ทำให้ผมได้ lyrics (เนื้อเพลง) แทบครบทุกเพลง และสามารถดูได้โดยไม่ต้องต่อ internet ซึ่งมีประโยชน์มาก เพราะงานที่ผมทำในประเทศพม่า (ณ เวลานั้น) ไม่อนุญาตให้ผมใช้งานอินเตอร์เน็ตได้บ่อยนัก อย่าว่าแต่ internet เลยไฟฟ้ายังต้องใช้เป็นเวลา
หลังจากบอกลา windows ไปเรียบร้อย แล้วเปลี่ยนมาเป็น ubuntu เพียวๆ แล้วก็ยังคิดถึง songbird อยู่ แล้วก็มาเจอข่าวร้าย คือ songbird ไม่ support ubuntu ซะแล้ว (http://www.omgubuntu.co.uk/2010/04/songbird-drops-linux-support-why-this-doesnt-matter/)

ทางเลือกที่มีก็คือ banshee หรือ rhythmbox ซึ่งสองตัวนี้ก็ดีมีลูกเล่นเยอะ แต่สิ่งที่ผมต้องการคือเนื้อเพลงแบบฝัง ใน ID3 คือไม่ต้องต่อเน็ตก็มี lyrics ให้ได้

ถึงแม้ตอนนี้ internet ไม่ใช่เรื่องลำบากอีกต่อไปแล้ว แต่ความรู้สึกของผมว่าการที่เรามีเนื้อเพลงฝังไปใน ID3 คือพูดง่ายๆ รวมไปในไฟล์เพลงแล้วทำไมผมถึงไม่สามารถดูได้จากโปแกรมที่เราใช้ ทำไมเราต้องไปหาจากเว็บเนื้อเพลงด้วย พอดีไปเจอ บทความนี้ http://www.ankurb.info/2008/06/10/why-i-hate-rhythmbox/ โดนใจผมมาก ใน comment ข้างล่างยังแนะนำให้ใช้โปรแกรม Exaile โดยบอกว่าเป็นโปรแกรมคล้ายกับ Amarok ของฝั่ง KDE
Exaile ใช้โลโก้ เป็นวงกลมสีเขียวอ่อน และมีสัญลักษณ์การเล่นเพลง (สามเหลี่ยมหันไปทางขวา ~ ปุ่มเล่นเพลง) ส่วนหน้าตาและการใช้งานส่วนอื่น น่าจะคล้ายๆโปรแกรมตัวอื่นๆ ข้างต้น แม้ว่าความสามารถโดยรวมยังสู้ขาใหญ่ทั้งหลายไม่ได้ แต่ที่ประทับใจมากๆ คือ การแสดง embed lyrics ตรงกับความต้องการ  ที่อยากฟังเพลงเมื่อไรแม้ไม่มี internet ก็ยังมีเนื้อเพลงมาให้ดูได้  ซึ่งช่วยพัฒนาภาษาอังกฤษที่ไม่ใช่ mother tongue ของเราได้ โดยความเห็นส่วนตัวแล้วการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร พื้นฐานสำคัญในทัศนะของข้าพเจ้า (ยืมคำเก๋ๆ ของเฮียมาโนช พุฒตาล มาซะหน่อย) ได้มาจากการฟังเพลงนี่แหละ สรุปว่า ณ ปัจจุบัน Exaile เป็นตัวเลือกแรกครับ 

หลังจากเลือกโปรแกรมที่ถูกใจแล้ว ก็มาถึงการปรับเสียง ซึ่งโปรแกรมที่ว่ามาข้างต้นนี้มี equalizer มาให้อยู่แล้วแต่ผมได้ลอง Pulse Audio โดย


sudo add-apt-repository ppa:psyke83/ppa
sudo aptitude update
sudo aptitude install pulseaudio-equalizer

ข้อมูลจาก snappytux.com ผมว่าเสียงที่ได้ดีกว่าตัว equalizer ของโปรแกรมนะนอกจากนี้ยังสามารถปรับแต่ง เพิ่มเติมจาก preset ที่โปรแกรมมีมาให้

2 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ24 ตุลาคม 2554 เวลา 17:57

    test comment from wordpress

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ26 ตุลาคม 2554 เวลา 23:37

    แวะมาเยี่ยมมาทักทายครับ หุ หุ หุ เปิดบล็อกเมื่อไหร่ก็ไม่บอกกันเลยเนาะ

    ตอบลบ