วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2554

Songbird

"ความพยายามอยู่ที่ไหน  ความลำบากสำเร็จอยู่ที่นั่น" แม้ว่าผมจะหา Exaile มาเป็นตัวแทนของ songbird เรียบร้อยแล้ว จริงๆ แล้วก็ประทับใจพอสมควร แต่มันเหมือนกับว่ามันไม่ได้ดั่งใจ เลยขออีกฮึดหนึ่ง แล้วในที่สุด ว้าว ว้าว ว้าว !!! Internet ก็พาผมไปพบกับเพื่อนเก่า ที่ชื่อ songbird จนได้
ผมมีเงื่อนไขสองอย่างในการหา คือ
1. ผมเป็นมือใหม่สำหรับ Ubuntu เพราะฉะนั้นให้ไปทำอะไรที่ยากๆ คงลำบากแน่นอน อาทิ การ make > make install อะไรเทือกนี้
2. ผมใช้ Ubuntu Lucid (10.04 LTS) 64 คืออยากใช้เวอร์ชั่น 64 bit นี้มาก แม้ตอนแรกจะกลัวมันยุ่งยาก แม้จะต้องยอมเป็นคนส่วนน้อยสักหน่อย เพราะคนอื่นๆ ใช้แบบ 32 bit มากกว่า อันนี้ต้องยอมรับ ซึ่งการหาของที่ยากอยู่แล้ว ก็ยากยิ่งขึ้น

วิธีแก้ปัญหา
1. จากเงื่อนไขข้างต้นก็ลองใช้ apt ก่อนเลย

sudo apt-get install songbird 


ปรากฎว่าไม่ได้ผล เหตุผลง่ายๆ คือมันไม่ support แล้ว แต่ยังดื้ออยู่ ก็ไปดูที่ Ubuntu Software Center ก็ไม่เจอ (แน่อยู่แล้ว)
2. ขอความช่วยเหลือจากอากู๋ ที่แรกที่แนะนำก็คือ http://getdeb.net แต่เมื่อมันไม่ support แล้วก็ไม่ได้แน่ๆ (อยู่แล้ว) จนมาเจอที่นี่ครับ http://pkgs.org/download/songbird เกือบจะยอมแพ้อยู่แล้ว ปรากฎว่าเวิร์คครับ ผมจับเจ้านกมาร้องเพลงในเครื่องผมจนได้  และที่สำคัญ add-on ต่างๆ สามารถอัพเดตผ่านตัวโปรแกรมได้เลย

ความรู้เกี่ยวกับแผนที่เบื้องต้น 2

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับภูมิศาสตร์โลก

ลักษณะ รูปทรงสัณฐานของโลกมีลักษณะกลมแบบ Speriod  แต่ในทางปฎิบัติเราถือว่าโลกมีลักษณะทรงกลมทางเรขาคณิต ดังนั้นระบบพิกัดภูมิศาสตร์ของโลกจึงมีส่วนประกอบต่อไปนี้

1. เส้นวงกลมใหญ่  (Great Circle) คือ เส้นรอบวงที่เราลากผ่านไปรอบผิวโลกโดยผ่านที่ศูนย์กลางวงกลม แล้วบรรจบมาเป็นวงกลม  เรียกว่า"วงกลมใหญ่"  ตัวอย่าง เช่น  เส้นศูนย์สูตร เส้นเมริเดียนที่อยู่ตรงข้ามกัน เส้นแบ่งเขตมืด-สว่าง 

2. เส้นวงกลมเล็ก  (Small Circle) คือ เส้นรอบวงที่เราลากผ่านไปรอบผิวโลกโดยไม่ผ่านที่ศูนย์กลางวงกลม แล้วบรรจบมาเป็นวงกลม  ตัวอย่าง เช่น  เส้นขนาน

3. เส้นศูนย์สูตร (Equator) คือ เส้นที่ลากผ่านศูนย์กลางวงกลมในแนวตะวันออกและตะวันตก  โดยจุดเริ่มต้นของเส้นที่ 0 องศาทางตะวันออก  ซึ่งเป็นวงกลมใหญ่วงหนึ่งเช่นกัน

4. เส้นเมริเดียน (Meridians) คือ เส้นที่ลากผ่านศูนย์กลางวงกลมในแนวเหนือและใต้ โดยลากเชื่อมระหว่างจุดขั้วโลกเหนือ และขั้วโลกใต้

5. เส้นเมริเดียน ปฐม (Prime Meridian) คือ เส้นเมริเดียนที่ลากผ่านหอดูดาวที่ตำบลกรีนิช (Greenwich) ประเทศอังกฤษ ใช้เป็นเส้นหลักในการกำหนดค่าลองกิจูด ซึ่งถูกกำหนดให้มีลองกิจูดเป็นศูนย์ ถ้าถือตามข้อตกลงนานาชาติ ค.ศ. 1884 จะเรียกว่า เส้นเมริเดียนกรีนิช ก็ได้

6. เส้นขนาน (Parallels)  คือ เส้นที่ลากขนานกับเส้นศูนย์สูตร หรือ วงกลมเล็ก

7. ละติจูด (Latitude) หรือ เส้นรุ้ง คือ ระยะทางเชิงมุมที่วัดไปทางเหนือและใต้ของเส้นศูนย์สูตร นับจาก 0 องศาไปทางเหนือและทางใต้ 90 องศา

8. ลองกิจูด (Longitude) หรือ เส้นแวง  คือ  ระยะทางเชิงมุมที่วัดจากเมริเดียนปฐมซึ่งถือที่ 0 องศา ตำบลกรีนิชเป็นหลัก วัดไปทางตะวันออก  180 องศาตะวันออก และทางตะวันตก 180 องศาตะวันตก

"รุ้งตะแคง แวงตั้ง"   เป็นคำเรียกขานเพื่อให้ง่ายต่อการจำว่า เส้นละติจูดและลองกิจูดคืออะไร มีลักษณะอย่างไร

9. เส้นโครงแผนที่ คือ  ระบบของเส้นที่สร้างขึ้นในพื้นที่แบนราบ เพื่อแสดงลักษณะของเส้นขนานและเส้นเมริเดียนอันเป็นผลจากแบบและวิธีการสร้าง รูปทรงเรขาคณิต และการวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ในการถ่ายทอดเส้นเหล่านั้นจากผิวโลก ซึ่งเป็นทรงกลมลงบนพื้นที่แบนราบ   ซึ่งวิธีการนั้น เรียกว่าการฉายแผนที่ โดยการใช้พื้นผิวรูปทรงเรขาคณิต 3 ชนิด คือ รูประนาบ (Plane)   รูปทรงกรวย (Cone)   และรูปทรงกระบอก (Cylinder)   ในการฉายเส้นโครงแผนที่

10. โปรเจคชั่นของแผนที่   คือ  ระบบการเขียนแนวเส้นที่แทนเส้นเมริเดียนและเส้นขนาน (Meridians and Parallels)  ของพิภพทั้งหมด หรือ ส่วนใดส่วนหนึ่งลงบนพื้นแบนราบตามมาตราส่วน

11. ทิศเหนือจริง (True North)   คือแนวที่นับจากตำบลใดๆ บนพิภพไปยังขั้วโลกเหนือจะเห็นว่าเส้น Longitude ทุกเส้น  ก็คือแนวทิศเหนือจริง ตามปกติใช้สัญลักษน์รูปดาวแทนทิศเหนือจริง โดยทั่วโปจะไม่ใช้ทิศเหนือ จริงในการอ่านแผนที่

12. ทิศเหนือกริด  (แผนที่) (Grid North)    คือแนวเส้นกริดใต้-เหนือบนแผนที่  ใช้สัญลักษณ์  GN ทิศเหนือกริดให้ประโยชน์ในการหาค่าพิกัดบนเเผนที่และมุมภาคของทิ

13. ทิศเหนือแม่เหล็ก ( Magnetic North)  คือแนวตามปลายลูกศรที่แสดงทิศเหนือของเข็มทิศ.  ซึ่งโดยปกติเข็มทิศจะชี้ไปทางขั้วเหนือของแม่เหล็กโลกเสมอ ในแผนที่จะใช้สัญลักษณ์รูปลูกศรครึ่งซีก  ทิศเหนือแม่เหล็กจะใช้ประโยชน์ในการหาทิศทางเมื่ออยู่ในภูมิประเทศจริง
14.  อะซิมุท ( Azimuth)
  เป็นวิธีการที่คิดขึ้นมาเพื่อใช้ในการบอกทิศทาง คือวัดขนาดของมุมทางราบที่วัดจากแนวทิศเหนือหลักเวียนตามเข็มนาฬิกามาบรรจบ กับแนวเป้าหมายที่ต้องการ มุมทิศอะซิมุทนี้จะมีค่าตั้งแต่ 0 - 360 องศา และเมื่อวัดมุมจากเส้นฐานทิศเหนือหลักชนิดใด ก็จะเรียกตามทิศเหนือหลักนั้น เช่น อะซิมุทจริง, อะซิมุทกริด, อะซิมุทแม่เหล็ก

วันเสาร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2554

เพลง กับ ubuntu

หลังจากปรับแต่ง Ubuntu ได้พักใหญ่ก็ถึงเวลาหาความสุนทรีย์ให้กับตัวเองซะที ตอนที่ใช้  windows นี่ผมเริ่มจาก winamp ก่อนเลย ตามประสาผู้นิยมพันธ์ทิพย์ที่ดี เพราะปกติ winamp นี่น่าจะเป็นโปรแกรมสามัญประจำเครื่อง จนผมมารู้จัก foobar และ songbird ก็ไล่ winamp ออกจากเครื่องไปเรียบร้อย ซึ่งผมก็ใช้ทั้งสองตัว
foobar นี่ได้เปรียบเรื่องความเร็วกับการใช้ทรัพยากรที่น้อยกว่า songbird มาก แต่ตัว songbird ก็ได้เปรียบเรื่องการมี browser ในตัว เพราะพัฒนาจากทีมงาน firefox ทำให้ผมได้ lyrics (เนื้อเพลง) แทบครบทุกเพลง และสามารถดูได้โดยไม่ต้องต่อ internet ซึ่งมีประโยชน์มาก เพราะงานที่ผมทำในประเทศพม่า (ณ เวลานั้น) ไม่อนุญาตให้ผมใช้งานอินเตอร์เน็ตได้บ่อยนัก อย่าว่าแต่ internet เลยไฟฟ้ายังต้องใช้เป็นเวลา
หลังจากบอกลา windows ไปเรียบร้อย แล้วเปลี่ยนมาเป็น ubuntu เพียวๆ แล้วก็ยังคิดถึง songbird อยู่ แล้วก็มาเจอข่าวร้าย คือ songbird ไม่ support ubuntu ซะแล้ว (http://www.omgubuntu.co.uk/2010/04/songbird-drops-linux-support-why-this-doesnt-matter/)

ทางเลือกที่มีก็คือ banshee หรือ rhythmbox ซึ่งสองตัวนี้ก็ดีมีลูกเล่นเยอะ แต่สิ่งที่ผมต้องการคือเนื้อเพลงแบบฝัง ใน ID3 คือไม่ต้องต่อเน็ตก็มี lyrics ให้ได้

ถึงแม้ตอนนี้ internet ไม่ใช่เรื่องลำบากอีกต่อไปแล้ว แต่ความรู้สึกของผมว่าการที่เรามีเนื้อเพลงฝังไปใน ID3 คือพูดง่ายๆ รวมไปในไฟล์เพลงแล้วทำไมผมถึงไม่สามารถดูได้จากโปแกรมที่เราใช้ ทำไมเราต้องไปหาจากเว็บเนื้อเพลงด้วย พอดีไปเจอ บทความนี้ http://www.ankurb.info/2008/06/10/why-i-hate-rhythmbox/ โดนใจผมมาก ใน comment ข้างล่างยังแนะนำให้ใช้โปรแกรม Exaile โดยบอกว่าเป็นโปรแกรมคล้ายกับ Amarok ของฝั่ง KDE
Exaile ใช้โลโก้ เป็นวงกลมสีเขียวอ่อน และมีสัญลักษณ์การเล่นเพลง (สามเหลี่ยมหันไปทางขวา ~ ปุ่มเล่นเพลง) ส่วนหน้าตาและการใช้งานส่วนอื่น น่าจะคล้ายๆโปรแกรมตัวอื่นๆ ข้างต้น แม้ว่าความสามารถโดยรวมยังสู้ขาใหญ่ทั้งหลายไม่ได้ แต่ที่ประทับใจมากๆ คือ การแสดง embed lyrics ตรงกับความต้องการ  ที่อยากฟังเพลงเมื่อไรแม้ไม่มี internet ก็ยังมีเนื้อเพลงมาให้ดูได้  ซึ่งช่วยพัฒนาภาษาอังกฤษที่ไม่ใช่ mother tongue ของเราได้ โดยความเห็นส่วนตัวแล้วการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร พื้นฐานสำคัญในทัศนะของข้าพเจ้า (ยืมคำเก๋ๆ ของเฮียมาโนช พุฒตาล มาซะหน่อย) ได้มาจากการฟังเพลงนี่แหละ สรุปว่า ณ ปัจจุบัน Exaile เป็นตัวเลือกแรกครับ 

หลังจากเลือกโปรแกรมที่ถูกใจแล้ว ก็มาถึงการปรับเสียง ซึ่งโปรแกรมที่ว่ามาข้างต้นนี้มี equalizer มาให้อยู่แล้วแต่ผมได้ลอง Pulse Audio โดย


sudo add-apt-repository ppa:psyke83/ppa
sudo aptitude update
sudo aptitude install pulseaudio-equalizer

ข้อมูลจาก snappytux.com ผมว่าเสียงที่ได้ดีกว่าตัว equalizer ของโปรแกรมนะนอกจากนี้ยังสามารถปรับแต่ง เพิ่มเติมจาก preset ที่โปรแกรมมีมาให้

วันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ความรู้เกี่ยวกับแผนที่เบื้องต้น 1

ข้อมูลเรื่องแผนที่นี้ได้มาจาก http://www.thaigoogleearth.com ซึ่งขณะที่เขียนบล็อกนี้เว็บได้ปิดปรับปรุง
แผนที่เป็นอุปกรณ์สำคัญอย่างหนึ่งที่มนุษย์นำมาใช้เป็นเครื่องช่วยในการ ดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันนับจากอดีตจนถึงปัจจุบัน แผนที่มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ การเรียนการสอน การประกอบอาชีพสาขาต่างๆ และการนำไปใช้งานด้านต่าง ๆ เช่น   ภูมิศาสตร์ การสำรวจ ธรณีวิทยา การเกษตร ป่าไม้   การคมนาคมขนส่ง   กิจการทหารตำรวจ ศิลปวัฒนธรรม สาขาต่างๆเหล่านี้ จะต้องอาศัยแผนที่เป็นเครื่องมือชี้นำเสมอ

ในสมัยเริ่มแรกการทำแผนที่จะอาศัยข้อมูลการสำรวจภาคพื้นดินเท่านั้น    แต่ต่อมามีเทคโนโลยีการสำรวจจากระยะไกล (Remote Sensing) เกิดขึ้น จึงมีการนำเอาภาพถ่ายทางอากาศและภาพถ่ายจากดาวเทียมมาช่วยในการทำแผนที่ เพราะทำให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว และถูกต้องกว่าการสำรวจภาคพื้นดินเพียงอย่างเดียว ในปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ (Hardware) และซอฟแวร์ (Software) มีมากขึ้น จึงมีการนำเอาคอมพิวเตอร์มาผลิตแผนที่ ซึ่งทำได้สะดวกรวดเร็ว และถูกต้องมากกว่าเดิมที่ทำด้วยมือ


 คอมพิวเตอร์ มีวิธีการแสดงผลภาพออกมาให้เหมือนจริง หรือทำเสมือนมองเห็นได้ในสภาพเป็นจริง(Visualization) เช่น แสดงความลึก สูง ต่ำ นูน รูปแบบภาพสามมิติ เป็นลักษณะที่ง่ายต่อการสื่อความหมายมากขึ้นแผนที่มีอยู่หลายประเภทด้วยกัน เช่น แผนที่ภูมิประเทศ แผนที่ภาพถ่าย แผนที่เฉพาะเรื่องต่าง ๆ   การผลิตแผนที่แบบใด มีความละเอียดถูกต้องระดับใด ก็ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของงานที่จะใช้ นอกจากนี้ขึ้นอยู่กับหน่วยงานด้วยว่ามีขีดความสามารถในการผลิตแผนที่ได้เอง หรือไม่ ซึ่งในปัจจุบันก็มีหลายหน่วยงานในประเทศไทยไม่ว่าทั้งของรัฐบาลหรือเอกชน สามารถผลิตแผนที่ขึ้นมาใช้เองในหน่วยงาน เช่น มหาวิทยาลัยต่าง ๆ บริษัทเอกชนต่าง ๆ

งานด้าน รีโมทเซนซิ่งและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Remote Sensing and Geographic Information System) ก็มีเป้าหมายที่สำคัญอย่างหนึ่งคือการแสดงผลออกมาในรูปแแบบของแผนที่ไม่ว่า จะเป็นแผนที่ในรูปแบบแผ่นกระดาษ หรือแผนที่ในรูปแบบดิจิตอล (Digital) ที่สามารถแสดงผลในคอมพิวเตอร์ ได้   การแสดงผลหรือการผลิตแผนที่ออกมาจะต้องมีหลักในการทำแผนที่หลายอย่าง  เช่น การอ้างอิงระบบพิกัดของแผนที่ให้ถูกต้องตรงกับสภาพความเป็นจริงบนพื้นโลก กำหนดทิศทาง มาตราส่วน การแสดงสัญลักษณ์ต่าง ๆ ให้สื่อออกมาสอดคล้องกับความเป็นจริง ในประเทศไทยเรานิยมใช้แผนที่ที่ผลิตโดยกรมแผนที่ทหารนำมาใช้งาน และนำมาเป็นแผนที่อ้างอิงประกอบ หรือที่เรียกว่าแผนที่ฐาน (Base Map)

เนื่อง จากถือว่าเป็นแผนที่มาตรฐานที่มีความถูกต้องสูง โดยแบ่งเป็น 2  มาตราส่วน คือ มาตราส่วนเล็ก 1:250,000   หรือแผนที่ภูมิประเทศลำดับชุด 1501 S มีระบบพิกัดเป็นระบบพิกัดภูมิศาสตร์   ซึ่งประชาชนหรือผู้สนใจทั่วไปสามารถจะซื้อมาใช้ได้   และมาตราส่วนใหญ่  1:50,000 หรือแผนที่ภูมิประเทศลำดับชุด L7017 มีระบบพิกัดเป็นระบบพิกัดภูมิศาสตร์ และระบบพิกัดกริด UTM ใช้ได้เฉพาะหน่วยงานราชการเท่านั้น   ในบทความนี้จะเน้นทำความเข้าใจเกี่ยวกับแผนที่ภูมิประเทศลำดับชุด L 7017 มาตราส่วน 1:50,000 ซึ่งเป็นแผนที่ที่มีความละเอียดค่อนข้างสูงและนิยมนำมาใช้งานในหน่วย งานราชการทั่วไป   รวมถึงเนื้อหาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เข้าใจเนื้อหามากยิ่งขึ้น

รูปทรงสัณฐานของโลก  โลก (Earth) โลกของเรามีรูปร่างลักษณะเป็นรูปทรงรี (Oblate Ellipsoid)   คือมีลักษณะป่องตรงกลาง ขั้วเหนือ-ใต้ แบนเล็กน้อย แต่พื้นผิวโลกที่แท้จริงมีลักษณะขรุขระ  สูง  ต่ำ ไม่ราบเรียบ  สม่ำเสมอ พื้นผิวโลกจะมีพื้นที่ประมาณ 509,450,00 ตารางกิโลเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลางที่ศูนย์สูตรยาว 12,757 กิโลเมตร   มีเส้นผ่าศูนย์กลางจากขั้วโลกเหนือถึงขั้วโลกใต้  12,714 กิโลเมตร จะเห็นว่าระยะทางระหว่างแนวนอน (เส้นสูนย์สูตร) ยาวกว่าแนวตั้ง (ขั้วโลกเหนือ -ใต้) จากลักษณะดังกล่าวนี้ ทำให้ไม่สามารถใช้รูปทรงเรขาคณิตอย่างง่ายแสดงขนาด และรูปร่างของโลกได้อย่างถูกต้อง  ดังนั้นเพื่อความสะดวกต่อการพิจารณารูปทรงสัณฐานของโลก และในกิจการของแผนที่ จึงมีการใช้รูปทรงสัณฐานของโลกอยู่ 3 แบบ คือ ทรงกลม (Spheroid) ทรงรี (Ellipsoid) และ ยีออยด์ (Geoid)
   
ทรงกลม หรือ สเฟียรอยด์  เป็นรูปทรงที่ง่ายที่สุด  จึงเหมาะเป็นสัณฐานของโลกโดยประมาณ  ใช้กับแผนที่มาตราส่วนเล็กที่มีขอบเขตกว้างขวาง เช่น แผนที่โลก แผนที่ทวีป หรือ แผนที่อื่นๆที่ไม่ต้องการความละเอียดถูกต้องสูง
      
ทรงรี หรือ   อิลิปซอยด์
   โดยทั่วไป คือ รูปที่แตกต่างกับรูปทรงกลมเพียงเล็กน้อย  ซึ่งจะมีลักษณะใกล้เคียงกับสัณฐานจริงโลกมาก จึงเหมาะสำหรับใช้เป็นพื้นผิวการรังวัด  และการแผนที่ที่ต้องการความละเอียดถูกต้องสูง เช่น แผนที่ระดับชุมชนเมือง แผนที่ภูมิประเทศมาตราส่วนใหญ่ทั่วไป แผนที่นำร่อง เป็นต้น
      
ยีออยด์       เป็นรูปทรงที่เหมือนกับสัณฐานจริงของโลกมากที่สุด เกิดจากการสมมุติระดับน้ำในมหาสมุทรขณะทรงตัวอยู่นิ่ง เชื่อมโยงให้ทะลุไปถึงกันทั่วโลก จะเกิดเป็นพื้นผิวซึ่งไม่ราบเรียบตลอด มีบางส่วนที่ยุบต่ำลง บางส่วนสูงขึ้นขึ้นอยู่กับความหนาแน่นและแรงโน้มถ่วงของโลก ทุก ๆ แนวดิ่ง (Plumb Line) จะตั้งฉากกับยีออยด์   ยีออยด์มีบทบาทสำคัญในงานรังวัดชั้นสูง (Geodesy) แต่กลับไม่มีบทบาทโดยตรงกับวิชาการแผนที่  นอกจากจะใช้ในการคำนวณแผนที่ประกอบกับรูปทรงรี

วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2554

Zekr - Quran Study Software For Linux


Zekr - Quran Study Software For Linux

น่าจะเป็นโปรแกรมกุรอานโปรแกรมเดียวที่รัน ใน linux หลังจากลงแล้ว ถือว่าใช้ได้ดีทีเดียว ที่สำคัญยังสามารถเลือกคำแปล (Translation) ได้หลายภาษา และแน่นอนมีภาษาไทยด้วย นอกจากนั้นก็ยังสามารถเปลี่ยนคนอ่าน (Reciter) ได้อีกด้วย ทั้งนี้สามารถเลือกได้ว่าเป็น แบบ offline หรือ online ด้วย แหม ใช้ได้เลย

สำหรับผู้ทีใช้ linux อยู่แล้ว แนะนำให้ลองใช้ดู รองรับ Linux ทุก แพลตฟอร์ม สนใจดาวน์โหลดโปรแกรมได้ที่ http://zekr.org/quran/en/quran-for-linux


ส่วนผู้ที่ใช้ Ubuntu อยู่ลงโปรแกรมง่ายๆ ดังนี้


1. ผ่าน Ubuntu Software Center
  • เมนู Applications > Ubuntu Software Center
  • ค้นหาในช่อง แล้วค้นหาชื่อ zekr เลยครับ 
  • หลังจากนั้นก็ install ผมใช้ Ubuntu Lucid มีให้ install 2 รายการ คือ Zekr (ตัวโปรแกรม) และ Zekr Quran English translation
2. ใช้ apt

apt-get install zekr 


พิมพ์ใน Terminal ได้เลย หรือก็อปปี้ข้อความข้างบนไปวางใน Terminal แล้วกด Enter

ชีวิต Open Source

ผมเริ่มรู้จักและใช้ Linux มาตั้งแต่ปี 2003 แต่เครื่อง pc หรือ notebook ที่ใช้ยังไม่มีเครื่องไหนที่เป็น linux แบบเต็มตัวสักอัน แต่เมื่อสัปดาห์ก่อน notebook คชีพที่ใช้มานาน (ไม่มีปัญญาเปลี่ยนเครื่องใหม่) ต้องอำลา Windows ไป สาเหตุน่าจะมาจากติดไวรัสที่คุณภรรยาเอามาฝากจากที่ทำงาน เครื่องนั้นลงทั้ง ubuntu และ windows ด้วย พยายามหาทางกู้ชีพ windows อยู่นานก็ไม่กลับมาเสียที จนอ่อนใจ สงสัยมันจะไปพร้อมกัน Steve Jobs เลยตัดใจลง ubuntu เต็มๆ แม่มซะที


ใช้เวลาสองสามวันกว่าจะได้อันที่ถูกใจ จนมาลงตวที่ ubuntu 10.04 LTS 64 bit เพราะเครื่องผมมันเป็น AMD 64 bit แต่กลัวนั่นกลัวนี่ เลยไม่เคยกล้าลง แบบ 64 bit ได้แต่ลองแบบ 32 มาซะนาน ใครที่คิดว่าจะลง ubuntu ก่อนทำขอแนะนำเลยว่าควรหาที่ต่ออินเตอร์เน็ตไว้ก่อน ในกรณีของผมใช้เครื่อง compaq presario เมื่อลงแล้ว ubuntu มองไม่เหน driver ของ wireless ทำให้ต่อเน็ตไม่ได้ เปิดอีกเครื่องดูเพื่อหาวิธีลง driver แต่ไม่ประสบความสำเร็จ บางวิธีลงไปก็ไม่กล้าไปต่อ เพราะลง ubuntu มาหลายรอบกลัวเดี้ยง เลยใช้วิธีง่ายๆ คือเสียบสายแลน แล้วให้ไปอัพเดพ driver ซึ่งมีอยู่สองอย่างที่ ubuntu ไม่รู้จัก คือ wireless กับ modem เลยจัดการให้อัพเดตซะ จริงๆ แล้ว modem คงไม่ได้ใช้เท่าไหร่ แต่ where where is where where (ไหนๆ ก็ไหนๆ - มุขโบราณ) จัดการซะทีเดียวก็ดี


ได้แนวทางจาก http://xtremediary.blogspot.com/2010/04/to-do-after-installing-ubuntu-1004.html แล้วปรับนู่นปรับนี่ไปเรื่อยๆ แต่ถือเป็นต้นแบบที่ดีมากๆ ในการไล่ลงโปรแกรม  แต่ขอเพิ่มเติมหน่อย คือว่า วิธีการลงโปรแกรมตามตัวอย่างนี้  ใช้การลงแบบ command line คือ พิมพ์เอาที่ Terminal ซึ่งเราสามารถเลือก option ต่างๆ ในการลงโปรแกรมหรือการดาวน์โหลดได้  ผ่านคำสั่ง apt-get แล้วผมไปเจอ apt-fast ซึ่งรายละเอียดจาก Lords IT Tech ควรทำตามขั้นตอนเพื่อใช้ apt-fast มาแทน apt-get เพื่อประหยัดเวลา (มาก) 


หลังจากนนก็มาจัดการ เกี่ยวกับ web development หน่อย ได้วิธีจากคุณ kiterminal ตามลิงค์ นี้เลยครับ การติดตั้ง Apache, PHP, MySQL และ phpMyAdmin บน Ubuntu 8.10  ใช้กับ ubuntu 10 หรือ version ที่อัพเดตกว่าได้ ตราบใดที่ยังใช้ apache 2 อยู่


ส่วนวิธีการลง ubuntu คงมีคนแสดงวิธีไว้มากแล้ว แต่อันหนึ่งที่ผมชอบมากเลยคือของคุณ ศุภชัย อารมณ์คงประมาณเดียวกันเลย