หั่นดอกเบี้ย - ช่วยลูกบ้าน
ไม่เพียงแต่ 9 แบงก์รัฐนำทัพ โดยแบงก์ออมสิน-กรุงไทย-ธ.ก.ส. ที่แห่ระดมกันมาช่วยลูกค้าผู้ประสบอุทกภัย แต่แบงก์พาณิชย์ทั้งใหญ่และเล็กทั้งแบงก์กรุงเทพ-ทหารไทย-ไทยพาณิชย์ ต่างพาเหรดคลอดแพกเกจกันอย่างคึกคัก ในรูปแบบทั้งพักหนี้-ลดดอกเบี้ย-อัดฉีดเงินทุนหมุนเวียนอุ้มลูกหนี้ฝ่าวิกฤตน้ำท่วม
แม้วิกฤตน้ำท่วมยังไม่ทีทีว่าจะลดลงอย่างเร็ววันนี้ แต่หน่วยงานของรัฐกระทรวงการคลัง เดินหน้ามาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ปี 2554 ซึ่งปัจจุบันก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงและกว้างขวาง โดยตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2554 กระทรวงการคลังได้มีมาตรการเพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ไม่ว่า จะเป็น มาตรการด้านการเงินผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ 9 แห่ง ได้แก่
หนึ่ง - ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กำหนดเกณฑ์ กรณีลูกค้าเสียชีวิตจากอุทกภัย จะจำหน่ายลูกหนี้ออกจากบัญชีเป็นหนี้สูญ โดย ธ.ก.ส.รับภาระเอง อีกทั้งขยายเวลาการชำระหนี้เงินกู้เดิมเป็นเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปีบัญชี 2554-2556 และงดคิดดอกเบี้ยเงินกู้เป็นเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปีบัญชี 2554-2556 และให้เงินกู้ใหม่เพื่อฟื้นฟูการประกอบอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิตรายละไม่เกิน 100,000 บาท และลดดอกเบี้ยเงินกู้จากอัตราปกติที่ ธ.ก.ส.เรียกเก็บจากลูกค้าลงร้อยละ 3 ต่อปี เป็นเวลาไม่เกิน 3 ปี โดยติดต่อสายด่วน 02 2800180 ต่อ 2352
สอง - ธนาคารออมสิน ในด้านสินเชื่อเคหะ แบบที่หนึ่ง-ให้พักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ย หรือพักชำระหนี้เงินต้นไม่เกิน 6 เดือน แบบที่สอง-ปรับลดเงินงวด และ/หรือขยายระยะเวลาการผ่อนชำระหนี้ โดยเป็นไปตามเงื่อนไขการให้สินเชื่อเคหะของธนาคาร (ไม่เกิน 30 ปี) โดยสามารถติดต่อสายด่วน 1115
แบบที่สาม - ให้กู้เพิ่มเพื่อเป็นเงินกู้กรณีฉุกเฉินรายละ 300,000 บาท และไม่เกินร้อยละ 10 ของจำนวนเงินกู้ตามสัญญาเดิม ระยะเวลาชำระเงินกู้ไม่เกิน 5 ปี อัตราดอกเบี้ยปีที่ 1-2 ร้อยละ 3.25 ต่อปี ปีที่ 3-5 เท่ากับร้อยละ MLR-1 ต่อปี และแบบที่สี่- เงินกู้เพื่อซ่อมแซมที่อยู่อาศัยสำหรับลูกค้าสินเชื่อเคหะเดิมรายละ 300,000 บาท และไม่เกินร้อยละ 100 ของราคาประเมินหลักทรัพย์เดิม สำหรับประชาชนทั่วไปไม่เกินรายละ 300,000 บาท ระยะเวลาชำระเงินกู้ไม่เกิน 5 ปี อัตราดอกเบี้ยปีที่ 1-2 เท่ากับร้อยละ 3.25 ปีที่ 3-5 เท่ากับร้อยละ MLR-1 ต่อปี
ส่วนสินเชื่อธุรกิจและ SMEs ก็ยังมีให้ พักชำระหนี้เงินต้น โดยผ่อนชำระเฉพาะดอกเบี้ยเป็นเวลาไม่เกิน 6 เดือน รวมทั้ง ขยายระยะเวลาผ่อนชำระหนี้จากสัญญากู้เดิมได้ไม่เกิน 1 ปีและ ให้กู้เพิ่มรายละไม่เกิน 500,000 บาท อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เท่ากับร้อยละ MLR-1.50 ต่อปี ระยะเวลาชำระเงินกู้ไม่เกิน 5 ปี
สาม - ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) สายด่วน 02 6459000 กำหนดให้ วงเงินให้กู้สำหรับลูกหนี้เดิมของ ธอส. หรือลูกค้าใหม่เพื่อปลูกสร้างหรือซ่อมแซมอาคารไม่เกินร้อยละ 100 ของราคาประเมินค่าก่อสร้างอาคาร/ค่าซ่อมแซมอาคาร ระยะเวลาการกู้ไม่เกิน 30 ปี อัตราดอกเบี้ยแบ่งเป็น
สี่ - ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) กำหนดวงเงินกู้เพื่อปรับปรุง ซ่อมแซม ฟื้นฟูกิจการ และ/หรือเป็นเงินทุนหมุนเวียนรายละไม่เกิน 1,000,000 บาท ระยะเวลากู้ยืมสูงสุดไม่เกิน 6 ปี และระยะเวลาปลอดชำระคืนเงินต้น (Grace Period) ไม่เกิน 2 ปีรวมทั้ง อัตราดอกเบี้ยคงที่ที่ร้อยละ 8 ต่อปีตลอดอายุสัญญา โดยรัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยให้ร้อยละ 2 ต่อปีตลอดอายุสัญญา ดังนั้นผู้ประกอบการจะจ่ายจริงที่ร้อยละ 6 ต่อปีตลอดอายุสัญญา ที่สำคัญ ไม่ต้องมีหลักประกัน โดยสามารถติดต่อสายด่วน 1357
ห้า - ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.) มีการโครงการยิ้มสู้ฟื้นฟูอาชีพ ในรูปแบบแรก-ผ่อนปรนการชำระหนี้ ทั้งส่วนเงินต้นและกำไร เป็นระยะเวลา 3 เดือน และเดือนที่ 4-24 ให้ชำระทั้งส่วนเงินต้นและกำไร โดยคิดอัตรากำไรต่ำกว่าสัญญาเดิมร้อยละ 1 หลังจากนั้นคิดอัตรากำไรตามสัญญาเดิม หรือชำระเฉพาะส่วนกำไรเป็นระยะเวลา 12 เดือน เดือนที่ 13-24 ให้ชำระทั้งส่วนเงินต้นและกำไรตามสัญญาเดิม โดยสามารถติดต่อสายด่วน 1302
ในรูปแบบ ให้วงเงินสินเชื่อเพิ่มเติม สำหรับก่อสร้าง ซ่อมแซม/ต่อเติมที่อยู่อาศัย และ/หรือสถานประกอบธุรกิจ ที่ได้รับความเสียหายตามความจำเป็น ให้สินเชื่อไม่เกินร้อยละ 100 ของราคาประเมินหลักประกันเดิม/หลักประกันอื่นเพิ่มเติม และให้วงเงินสินเชื่อเพิ่มเติม สำหรับใช้หมุนเวียนในธุรกิจที่ขาดสภาพคล่องจากการได้รับผลกระทบทางอ้อม ให้สินเชื่อไม่เกินร้อยละ 100 ของราคาประเมินหลักประกันเดิม และมี ระยะเวลาการผ่อนชำระสูงสุดไม่เกิน 7 ปีสำหรับสินเชื่ออเนกประสงค์ และไม่เกิน 30 ปีสำหรับสินเชื่อเพื่อก่อสร้าง ซ่อมแซม ต่อเติมที่อยู่อาศัย
หก - ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) ได้มีสินเชื่อหมุนเวียนเพื่อการส่งออก ในลักษณะขยายระยะเวลาการรับชำระหนี้ หรือการต่อตั๋วเกินเทอมและปรับลดอัตราดอกเบี้ย อีกทั้งยังมีสินเชื่อหมุนเวียนเพื่อการนำเข้า ในรูปแบบ ขยายระยะเวลาการกู้ Trust Receipt และปรับลดอัตราดอกเบี้ย โดยสามารถติดต่อสายด่วน 0-2271-2929
เจ็ด - บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ก็ได้มีการกำหนดพักการชำระค่าธรรมเนียมค้ำประกัน เป็นระยะเวลา 6 เดือน สำหรับลูกค้า บสย. ที่ได้รับความเสียหายจากสถานการณ์อุทกภัยปี 2554 และถึงกำหนดชำระค่าธรรมเนียมต่ออายุการค้ำประกันตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2554 ถึง 31 มีนาคม 2555 และ ให้ความร่วมมือกับสถาบันการเงินที่ลูกค้าได้รับการค้ำประกันสินเชื่อจาก บสย. ในการผ่อนปรนเรื่องการพักชำระหนี้ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยรวมทั้งการปรับ โครงสร้างหนี้เพื่อให้กิจการสามารถดำเนินต่อไปได้ตามปกติ โดยสามารถติดต่อ สายด่วน 0-2302-2741 ต่อ 157
แปด - บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย (บตท.) มีการกำหนดให้พักชำระหนี้เป็นระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน แ ละ ปรับลดเงินงวด หรือขยายระยะเวลาการผ่อนชำระหนี้ออกไปรวมไม่เกิน 30 ปี พร้อมทั้ง ในกรณีที่ลูกค้ามีความประสงค์จะขอกู้เพิ่มเพื่อนำเงินไปซ่อมแซมบ้านที่ได้รับความเสียหาย บตท. จะเป็นผู้ประสานกับสถาบันการเงินเพื่อให้กู้เพิ่มต่อไป โดยสามารถติดต่อสายด่วน 0-2618-9933
เก้า - ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (บมจ. กรุงไทย) ในรูปแบบ เงินกู้กรุงไทยสู้อุทกภัย ให้วงเงินกู้ประจำ (T/L) ตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง และ เงินทุนหมุนเวียนกรุงไทยสู้อุทกภัย สำหรับเสริมสภาพคล่องให้ลูกค้าที่มีความจำเป็นต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนเพิ่มเติม ธนาคารจะพิจารณาให้ตามความเหมาะสม รวมทั้งโครงการกรุงไทยสู้อุทกภัย สำหรับลูกค้าที่ได้รับความเสียหายแต่ไม่ประสงค์กู้เพิ่ม โดยให้ปลอดชำระเงินต้น (Grace Period) ไม่เกิน 6 เดือน โดยสามารถติดต่อ สายด่วน 0-2
208-4171
นอกจากนี้ยังมี สินเชื่อที่อยู่อาศัยกรุงไทยสู้อุทกภัย ผ่อนปรนเงื่อนไขการชำระหนี้สินเชื่อที่อยู่อาศัย สำหรับลูกค้าที่ได้รับความเสียหาย โดยให้ปลอดชำระเงินต้น (Grace Period) ไม่เกิน 6 เดือน โดย ธนาคารยกเว้นค่าธรรมเนียมการโอนเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ธนาคารได้ยกเว้นค่าธรรมเนียมการโอนเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยทุกบัญชีแล้ว โดยมีผลตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2554
ทางด้านแบงก์เอกชนขนาดใหญ่หลายแบงก์ อาทิ ธนาคารกรุงเทพ เพิ่มมาตรการผ่อนชำระหนี้สำหรับลูกค้ารายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม โดยลูกค้าบัตรเครดิตจะผ่อนผันลดยอดขั้นต่ำที่ต้องชำระเหลือเพียง 0-10% และผ่อนผันชำระดอกเบี้ย โดยลดอัตราดอกเบี้ยลงจากอัตราปกติ 50% จนถึงสิ้นเดือน มิ.ย. 2555 หากถึงกำหนดเวลาดังกล่าวลูกค้ายังคงประสบปัญหา ธนาคารจะพิจารณาขยายระยะเวลาการคิดดอกเบี้ยในอัตราพิเศษนี้ออกไปอีก 6 เดือน (สิ้นเดือน ธ.ค. 2555)
ลูกค้าสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย หรือสินเชื่อบ้านบัวหลวง จะผ่อนผันให้ชำระเฉพาะดอกเบี้ยเป็นระยะเวลาสูงสุด 12 เดือน หรือปรับลดยอดการผ่อนชำระรายเดือนลงสูงสุด 40% เป็นเวลา 1 ปี ซึ่งเป็นมาตรการให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมจากที่เคยประกาศให้สินเชื่อ เพื่อซ่อมแซมที่อยู่อาศัยด้วยอัตราดอกเบี้ยผ่อนปรนพิเศษในปีแรก 5% และเป็นอัตราดอกเบี้ย MRR ในปีถัดไป สามารถผ่อนชำระสินเชื่อที่กู้เพิ่มได้สูงสุด 5 ปี
ทางด้าน ธนาคารทหารไทย ได้เพิ่มมาตรการช่วยเหลือลูกค้าบุคคลและลูกค้าธุรกิจ โดยลูกค้าธุรกิจรายใหญ่จะพิจารณาเป็น ราย ๆ ทั้งสนับสนุนเงินทุนเพิ่มเติมสำหรับซ่อมแซมอาคาร โรงงาน และเครื่องจักร ซึ่งจะเป็นสินเชื่อระยะยาวประมาณ 5 ปี และมีระยะเวลาปลอดการชำระเงินต้นไม่น้อยกว่า 3-6 เดือน ขึ้นอยู่กับความเสียหายและระยะเวลาที่ต้องใช้ในการฟื้นฟู นอกจากนี้จะขยายระยะเวลาผ่อนชำระคืนเงินทุนหมุนเวียนอีกสูงสุดเป็นเวลา 6 เดือน
สำหรับลูกค้าบุคคลจะพิจารณาอนุมัติสินเชื่อบุคคลเป็นกรณีพิเศษ และผ่อนผันเกณฑ์ชำระเงินสำหรับลูกค้า ที่ค้างชำระหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ลูกค้าสินเชื่อบุคคลทีเอ็มบีแคชทูโกจะพิจารณาให้วงเงินสินเชื่อเท่ากับวงเงินสินเชื่อเดิมที่มีอยู่กับธนาคาร และเพิ่มโบนัสพิเศษให้อีก 10% ของวงเงินสินเชื่อ ในวงเงินกู้ตั้งแต่ 10,000 บาท ถึง 1,000,000 บาท สูงสุด 5 เท่าของรายได้ โดยธนาคารจะดำเนินการหักกลบลบหนี้สินเชื่อทีเอ็มบีแคชทูโกที่มีอยู่เดิม และจะโอนเงินส่วนที่คงเหลือให้ลูกค้าต่อไป โดยลูกค้ายังไม่ต้องชำระค่างวดในช่วง 3 เดือนแรกนับจากวันอนุมัติ แต่จะเริ่มผ่อนชำระค่างวดตั้งแต่เดือนที่ 4 เป็นต้นไป และนอกจากนี้ขยายระยะเวลาการผ่อนชำระค่างวดให้อีก 3 เดือน
นอกจากนี้ธนาคารยังขยายระยะเวลาการผ่อนชำระให้เพิ่มอีก 3 เดือน ลูกค้าบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมและมีค่างวดค้างชำระตั้งแต่ 1-30 วัน หากเป็นลูกค้าสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยสามารถขอชำระเฉพาะดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นโดยยังไม่ต้องชำระเงินต้นเป็นเวลา 6 เดือน และขยายระยะเวลาผ่อนชำระจากปัจจุบันออกไปอีก 6 เดือน
สำหรับธนาคารไทยพาณิชย์ มาตรการช่วยเหลือทั้งลูกค้ารายย่อยและลูกค้าองค์กรทุกขนาด ประกอบด้วย ลูกค้าขนาดใหญ่ มีลูกค้าที่ได้รับผลกระทบกว่า 300 ราย จากเขตนิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา รวมทั้ง ปทุมธานี และสมุทรปราการ ช่วยเหลือบริษัทไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นลูกค้าของทางธนาคารเท่านั้น โดยธนาคารเตรียมสำรองวงเงินสินเชื่อฉุกเฉินจำนวน 1 หมื่นล้านบาท รูปแบบความช่วยเหลือมีทั้งการยืดระยะเวลาการชำระหนี้ หรือเพิ่มวงเงินพิเศษ
สำหรับกลุ่มลูกค้าบุคคลที่ใช้บริการสินเชื่อเคหะบัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคลอื่นๆ ธนาคารจะให้ความช่วยเหลือลูกค้าทั้งการพักชำระเงินต้นหรือยืดระยะเวลาการผ่อนชำระ ยกเว้นค่าปรับและค่าติดตามหนี้ค้างชำระ รวมถึงการเพิ่มวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 120% ของราคาประเมินกรณีสินเชื่อมีหลักประกัน
ขณะเดียวกัน ในด้านร่วมช่วยเหลือผู้ประสบภัย ธนาคารเปิดให้ประชาชนร่วมบริจาคเงินช่วยเหลือ ผ่านทางบัญชีเดินสะพัด ชื่อบัญชี “มูลนิธิสยามกัมมาจล-ไทยพาณิชย์ เพื่อผู้ประสบภัย” เลขที่บัญชี 111-3-90911-5 สาขารัชโยธิน โดยไม่คิดค่าธรรมเนียมการโอนเงินข้ามเขต สามารถบริจาคผ่านสาขากว่า 1,062 สาขาและเครื่องเอทีเอ็ม ของธนาคารที่มีกว่า 8,363 เครื่องทั่วประเทศ รวมถึงผ่านบริการ SCB Easy Net
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น