ข้อมูลเรื่องแผนที่นี้ได้มาจาก http://www.thaigoogleearth.com ซึ่งขณะที่เขียนบล็อกนี้เว็บได้ปิดปรับปรุง
แผนที่เป็นอุปกรณ์สำคัญอย่างหนึ่งที่มนุษย์นำมาใช้เป็นเครื่องช่วยในการ
ดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันนับจากอดีตจนถึงปัจจุบัน
แผนที่มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ การเรียนการสอน
การประกอบอาชีพสาขาต่างๆ และการนำไปใช้งานด้านต่าง ๆ เช่น
ภูมิศาสตร์ การสำรวจ ธรณีวิทยา การเกษตร ป่าไม้
การคมนาคมขนส่ง กิจการทหารตำรวจ ศิลปวัฒนธรรม
สาขาต่างๆเหล่านี้ จะต้องอาศัยแผนที่เป็นเครื่องมือชี้นำเสมอ
ในสมัยเริ่มแรกการทำแผนที่จะอาศัยข้อมูลการสำรวจภาคพื้นดินเท่านั้น
แต่ต่อมามีเทคโนโลยีการสำรวจจากระยะไกล (Remote Sensing)
เกิดขึ้น
จึงมีการนำเอาภาพถ่ายทางอากาศและภาพถ่ายจากดาวเทียมมาช่วยในการทำแผนที่
เพราะทำให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว
และถูกต้องกว่าการสำรวจภาคพื้นดินเพียงอย่างเดียว
ในปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ (Hardware)
และซอฟแวร์ (Software) มีมากขึ้น จึงมีการนำเอาคอมพิวเตอร์มาผลิตแผนที่
ซึ่งทำได้สะดวกรวดเร็ว
และถูกต้องมากกว่าเดิมที่ทำด้วยมือ
คอมพิวเตอร์
มีวิธีการแสดงผลภาพออกมาให้เหมือนจริง
หรือทำเสมือนมองเห็นได้ในสภาพเป็นจริง(Visualization) เช่น แสดงความลึก
สูง ต่ำ นูน รูปแบบภาพสามมิติ
เป็นลักษณะที่ง่ายต่อการสื่อความหมายมากขึ้นแผนที่มีอยู่หลายประเภทด้วยกัน
เช่น แผนที่ภูมิประเทศ แผนที่ภาพถ่าย แผนที่เฉพาะเรื่องต่าง ๆ
การผลิตแผนที่แบบใด มีความละเอียดถูกต้องระดับใด
ก็ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของงานที่จะใช้
นอกจากนี้ขึ้นอยู่กับหน่วยงานด้วยว่ามีขีดความสามารถในการผลิตแผนที่ได้เอง
หรือไม่
ซึ่งในปัจจุบันก็มีหลายหน่วยงานในประเทศไทยไม่ว่าทั้งของรัฐบาลหรือเอกชน
สามารถผลิตแผนที่ขึ้นมาใช้เองในหน่วยงาน เช่น มหาวิทยาลัยต่าง ๆ
บริษัทเอกชนต่าง ๆ
งานด้าน
รีโมทเซนซิ่งและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Remote Sensing and Geographic
Information System)
ก็มีเป้าหมายที่สำคัญอย่างหนึ่งคือการแสดงผลออกมาในรูปแแบบของแผนที่ไม่ว่า
จะเป็นแผนที่ในรูปแบบแผ่นกระดาษ หรือแผนที่ในรูปแบบดิจิตอล (Digital)
ที่สามารถแสดงผลในคอมพิวเตอร์ ได้
การแสดงผลหรือการผลิตแผนที่ออกมาจะต้องมีหลักในการทำแผนที่หลายอย่าง
เช่น
การอ้างอิงระบบพิกัดของแผนที่ให้ถูกต้องตรงกับสภาพความเป็นจริงบนพื้นโลก
กำหนดทิศทาง มาตราส่วน การแสดงสัญลักษณ์ต่าง ๆ
ให้สื่อออกมาสอดคล้องกับความเป็นจริง
ในประเทศไทยเรานิยมใช้แผนที่ที่ผลิตโดยกรมแผนที่ทหารนำมาใช้งาน
และนำมาเป็นแผนที่อ้างอิงประกอบ หรือที่เรียกว่าแผนที่ฐาน (Base Map)
เนื่อง
จากถือว่าเป็นแผนที่มาตรฐานที่มีความถูกต้องสูง โดยแบ่งเป็น 2
มาตราส่วน คือ มาตราส่วนเล็ก 1:250,000
หรือแผนที่ภูมิประเทศลำดับชุด 1501 S
มีระบบพิกัดเป็นระบบพิกัดภูมิศาสตร์
ซึ่งประชาชนหรือผู้สนใจทั่วไปสามารถจะซื้อมาใช้ได้
และมาตราส่วนใหญ่ 1:50,000 หรือแผนที่ภูมิประเทศลำดับชุด L7017
มีระบบพิกัดเป็นระบบพิกัดภูมิศาสตร์ และระบบพิกัดกริด UTM
ใช้ได้เฉพาะหน่วยงานราชการเท่านั้น
ในบทความนี้จะเน้นทำความเข้าใจเกี่ยวกับแผนที่ภูมิประเทศลำดับชุด L 7017
มาตราส่วน 1:50,000
ซึ่งเป็นแผนที่ที่มีความละเอียดค่อนข้างสูงและนิยมนำมาใช้งานในหน่วย
งานราชการทั่วไป รวมถึงเนื้อหาอื่น ๆ
ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เข้าใจเนื้อหามากยิ่งขึ้น
รูปทรงสัณฐานของโลก โลก
(Earth) โลกของเรามีรูปร่างลักษณะเป็นรูปทรงรี (Oblate
Ellipsoid) คือมีลักษณะป่องตรงกลาง ขั้วเหนือ-ใต้ แบนเล็กน้อย
แต่พื้นผิวโลกที่แท้จริงมีลักษณะขรุขระ สูง ต่ำ
ไม่ราบเรียบ สม่ำเสมอ พื้นผิวโลกจะมีพื้นที่ประมาณ 509,450,00
ตารางกิโลเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลางที่ศูนย์สูตรยาว 12,757
กิโลเมตร
มีเส้นผ่าศูนย์กลางจากขั้วโลกเหนือถึงขั้วโลกใต้ 12,714 กิโลเมตร
จะเห็นว่าระยะทางระหว่างแนวนอน (เส้นสูนย์สูตร) ยาวกว่าแนวตั้ง
(ขั้วโลกเหนือ -ใต้) จากลักษณะดังกล่าวนี้
ทำให้ไม่สามารถใช้รูปทรงเรขาคณิตอย่างง่ายแสดงขนาด
และรูปร่างของโลกได้อย่างถูกต้อง
ดังนั้นเพื่อความสะดวกต่อการพิจารณารูปทรงสัณฐานของโลก
และในกิจการของแผนที่ จึงมีการใช้รูปทรงสัณฐานของโลกอยู่ 3 แบบ คือ ทรงกลม
(Spheroid) ทรงรี (Ellipsoid) และ ยีออยด์ (Geoid)
ทรงกลม หรือ สเฟียรอยด์
เป็นรูปทรงที่ง่ายที่สุด จึงเหมาะเป็นสัณฐานของโลกโดยประมาณ
ใช้กับแผนที่มาตราส่วนเล็กที่มีขอบเขตกว้างขวาง เช่น แผนที่โลก แผนที่ทวีป
หรือ แผนที่อื่นๆที่ไม่ต้องการความละเอียดถูกต้องสูง
ทรงรี หรือ อิลิปซอยด์
โดยทั่วไป คือ รูปที่แตกต่างกับรูปทรงกลมเพียงเล็กน้อย
ซึ่งจะมีลักษณะใกล้เคียงกับสัณฐานจริงโลกมาก
จึงเหมาะสำหรับใช้เป็นพื้นผิวการรังวัด
และการแผนที่ที่ต้องการความละเอียดถูกต้องสูง เช่น แผนที่ระดับชุมชนเมือง
แผนที่ภูมิประเทศมาตราส่วนใหญ่ทั่วไป แผนที่นำร่อง เป็นต้น
ยีออยด์
เป็นรูปทรงที่เหมือนกับสัณฐานจริงของโลกมากที่สุด
เกิดจากการสมมุติระดับน้ำในมหาสมุทรขณะทรงตัวอยู่นิ่ง
เชื่อมโยงให้ทะลุไปถึงกันทั่วโลก จะเกิดเป็นพื้นผิวซึ่งไม่ราบเรียบตลอด
มีบางส่วนที่ยุบต่ำลง
บางส่วนสูงขึ้นขึ้นอยู่กับความหนาแน่นและแรงโน้มถ่วงของโลก ทุก ๆ แนวดิ่ง
(Plumb Line) จะตั้งฉากกับยีออยด์
ยีออยด์มีบทบาทสำคัญในงานรังวัดชั้นสูง (Geodesy)
แต่กลับไม่มีบทบาทโดยตรงกับวิชาการแผนที่
นอกจากจะใช้ในการคำนวณแผนที่ประกอบกับรูปทรงรี